ระบบห้องสมุดอัตโนมัติKOHA

1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

KOHA เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์ ปัจจุบันได้รับการพัฒนาและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง Koha ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์หรือวินโดวส์ ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL หรือ
PostgreSQL ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ทั้งในส่วนของระบบ และส่วนของผู้ใช้งาน และมีซอฟต์แวร์บริการเว็บเป็น Apache ซึ่งล้วนแต่เป็นซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัสและไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ ทำงานได้บนสถาปัตยกรรมแบบ Client/Server โดยใช้ Perl เป็นตัวพัฒนาในการเข้าถึงข้อมูลและเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลสามารถนำไปใช้งานในการยืม-คืน การค้นหาข้อมูล และรองรับการใช้งานในห้องสมุด สำหรับระบบงานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA นั้นประกอบด้วย ระบบงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ระบบงานทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ ระบบงานควบคุมวารสาร ระบบงานยืม-คืน และ ระบบงานสืบค้นสารสนเทศออนไลน์นอกจากนี้ยังสามารถสร้างระบบบาร์โค้ดได้ รองรับมาตรฐานการลงรายการแบบ MARC การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย Z39.50 และเป็นระบบการใช้งานผ่านเว็บในปัจจุบัน Koha ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายคือ KohaZOOM ส่วนระบบดั้งเดิมจะรู้จักในชื่อ Koha Classic มีบริษัท Liblime เป็นบริษัทร่วมในการพัฒนาระบบ


โมดูลหลัก ได้แก่
1. ระบบงานพัฒนาทรัพยากร (Acquisiton Module)
-  เตรียมข้อมูลก่อนการสั่งซื้อไปจนถึงกระทั่งการชำระเงินและการทำรายการ
-  มีระบบป้องกันการสั่งซื้อซ้ำ
-  มีระบบคำนวณอัตราการแลกเปลี่ยนเงินจากสกุลหนึ่งไปอีกสกุลหนึ่ง
-  เตือนเมื่อมีการใช้งบประมาณมากเกินไป
2. ระบบงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloging Module)
-  ทำรายการระเบียนบรรณานุกรม ทรัพยากรสารสนเทศ
-  สามารถบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบได้หลายวิธี เช่น บันทึกเข้าสู่ระบบโดยตรง การถ่ายจากเทปแม่เหล็ก การถ่ายข้อมูลทางระบบออนไลน์โดยตรงจากข่ายงานทางบรรณานุกรม ผ่าน Z39.50 และฐานข้อมูล   อื่น ๆ ที่เก็บด้วยซีดีรอม
- แก้ไขจุดใดจุดหนึ่งที่ต้องการแก้ไขให้เหมือนกัน ระบบจะเปลี่ยนแปลงให้อัตโนมัติทั้งระบบ
3. ระบบงานยืม-คืน (Circulation Module)
-  การยืม-คืน และยืมต่อ
-  การทวง
-  การจอง และการสำรองหนังสือ
-  การพิมพ์การทวง การคิดอัตราค่าปรับ และการออกใบเสร็จรับเงิน
4. ระบบงานควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial Control Module)
-  ลงทะเบียนวารสารไปจนถึงการเย็บเล่ม
-  การลงทะเบียนวารสารจะใช้กราฟิกแสดงบัตรทะเบียนวารสาร (Kardex) นอกจากนี้ระบบควบคุมทะเบียนวารสารจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานหลักอื่น ๆ เช่น ระบบงานพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ระบบงานยืม-คืน และระบบการสืบค้นออนไลน์
-  สามารถตรวจสอบราคาค่าบอกรับ หรือจ่ายเงินค่าบอกรับวารสารจากระบบพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
5. ระบบงานสืบค้นออนไลน์ (Online Public Access Catalog - OPAC Module)
-  เป็นระบบงานที่ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศ สามารถค้นได้จากชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวเรื่อง ตรรกบูลีน เป็นต้น


ภาพตัวอย่างระบบ Koha



                                 Clip แนะนำการใช้งาน Koha
1               1.      http://www.youtube.com/watch?v=drpY1WyEewQ

2               2.      http://www.youtube.com/watch?v=UfGYZHbilZY

2.  มีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศไทยหรือไม่ หากไม่มีจงหาว่ามีประเทศใดนอกเหนือจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ - จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส ยกตัวอย่างพร้อม URL ของระบบสืบค้น

- มีใช้ในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยนั้นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบโอเพนซอร์สได้เริ่มต้นนำมาใช้ในหน่วยงานของรัฐที่ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศวท.) โดยได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha มาพัฒนาและทดลองใช้ พร้อมทั้งได้เผยแพร่ไปยังกลุ่มห้องสมุดต่างๆ ที่สนใจอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันได้มีห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็กได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ไปใช้ในการจัดการงานห้องสมุดมากขึ้น
สำนักหอสมุด ได้พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบโอเพนซอร์สขึ้นโดยใช้ Koha เป็นแนวทางในการพัฒนาและได้ทดสอบใช้ในงานห้องสมุดศูนย์ความรู้ด้านการเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนทำห้ได้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จินดามณี ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบโอเพนซอร์ส ระบบแรกของไทย

สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม 2013 (ออนไลน์). http://www.stks.or.th/wiki/doku.php?id=koha:start
สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม 2013 (ออนไลน์). http://www.libraryhub.in.th/2009/06/21/koha-open-source-for-ils/
สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม 2013 (ออนไลน์). http://www.koha.org/



 3.    สรุปข้อดีและข้อเสียของผลิตภัณฑ์

ข้อดี

1. 
มี Community Koha สามารถเข้าไปศึกษาและตอบปัญหาได้
2. 
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. 
เป็นระบบ Web-based
4. 
มีบรรณารักษ์ที่ช่วยในการเสริมจุดอ่อนของซอฟต์แวร์
5. 
ค่าใช้จ่ายในระยะยาวต่ำ
6. 
ระบบเปิด ทำให้ปรับระบบได้ตามความต้องการ
7ลดการนำเข้าของซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ
8เป็นต้นแบบให้กับห้องสมุดขนาดกลางและขนาดเล็ก

ข้อเสีย

1. 
มีผู้ใช้ในประเทศไทยน้อย
2. 
ต้องอาศัยบรรณารักษ์ที่ชำนาญในการทดสอบระบบ
3. 
มีหลายฟังก์ชั่นในการทำงาน ทำให้เสียเวลาในการทดสอบระบบ
4. การถ่ายโอนข้อมูล อาจมีความผิดพลาด ต้องอาศัยบรรณารักษ์เป็นผู้ตรวจสอบก่อนและหลังการถ่ายโอน

สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม 2557 2013 (ออนไลน์). http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/473-koha

No comments:

Post a Comment